วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สมาชิกกลุ่ม

   




1.นาย อนิรุทธ์  ธรรมศรี  55122653
         2.นางสาว จิตราภรณ์  กองตา   55122604
         3.นางสาว ธิชา   สถาปิตานนท์  55122611 
        4.นางสาว พิทยารัตน์  โมตาลี   55122616
       5.นางสาว ศรัญญา  สุภามูล     55122621


นักศึกษาชั้นปีที่1

สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทของการแกะสลักไม้

ปัจจุบันงานแกะสลักไม้ที่บ้านหลุกซึ่งทำด้วยมือ มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1. การแกะสลักเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า โยส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ 4 เท้า ตัวอย่างเช่น ช้าง ม้า กระทิง  และเป็นตุ๊กตาไม้ เป็นต้น

2. การแกะสลักไม้ เป็นพืชและดอกไม้ เช่น กล้วยไม้ และดอกไม้ชนิดต่าง ๆ

3. การแกะสลักเป็นของใช้ และของประดับบ้าน เช่น ขันน้ำ พานรอง พาย รถมอเตอร์ไซด์ หัวอินเดียนแดง เป็นต้น

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญ


 บ้านถวาย เป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมแหล่งใหญ่ของเชียงใหม่ ที่มีความ โดดเด่นด้านงานแกะสลักไม้ โดยผู้คนในหมู่บ้านจะยึดอาชีพ เกี่ยวกับงานไม้ มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว เรื่องฝีมือนั้นเป็นอันรับประกันได้ สินค้าของที่นี้มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปสลักของสิ่งน่าเคารพต่างๆ เครื่องตกแต่ง บ้านทั้งหลาย เฟอร์นิเจอร์ไม้ต่างๆ หรือไม้แกะสลักรูปสัตว์ ที่คั่นหนังสือ พวงกุญแจ กรอบรูป ฯลฯ ราคาก็แตกต่างกัน และมีทั้งขายปลีก ขายส่งที่เรียกว่างานนี้ ได้ของกลับบ้านและเป็นที่ตั้งศูนย์หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ เป็นหน้าเป็นตาของอำเภอหางดง ความเป็นมาของบ้านถวาย เริ่มจากช่างแกะสลัก พื้นบ้านของ บ้านถวายไม่กี่คนเข้าไปรับจ้างแกะสลักในตัวเมืองเชียงใหม่ ต่อมาจึงรับ งานแกะสลักมาทำที่บ้านในหมู่บ้านถวาย ถ่ายทอดวิชาการ แกะสลัก ให้รุ่น ลูก มีการนำผลิตภัณฑ์ไปหาตลาดเพื่อ จำหน่ายในกรุงเทพฯจนต่อมาลูกค้า เดินทางมาซื้อถึงบ้านถวายจนกระทั่งพัฒนาเป็นศูนย์หัตถกรรมบ้านถวายในปัจจุบัน ซึ้งเอกลักษณ์ของสินค้าบ้านถวายคือเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือเป็น ภูมิปัญญาของชาวบ้าน ซึ่งสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น และได้รับเกียรติให้เป็นหมู่บ้าน OTOP นำร่องแห่งแรกของประเทศไทย





วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการทำไม้แกะสลัก


การแกะสลักไม้ของชาวบ้าน มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้

1. เลือกไม้ฉำฉา (จามจุรี) ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้น นำมาตัดเป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ


















2.วาดรูปที่ต้องการแกะสลัก























3. ใช้เลื่อย มีด และสิ่ว ถากเพื่อขึ้นรูปตามแบบที่วาดไว้




















4. นำชิ้นงานที่ขึ้นรูปแล้วไปเข้าเตาอบประมาณ 3-5 วัน เพื่อให้ไม้แห้ง




















5. นำชิ้นงานที่อบแล้วมาขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ



















6. ใช้สีฝุ่นทากระพี้ไม้ให้เป็นสีเดียวกันกับเนื้อไม้





















7. ทาสีชิ้นงานด้วยสี Emulsion ตามต้องการแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง























8. ลงWax ที่ชิ้นงานให้ทั่วและขัดตกแต่งอีกเล็กน้อย





อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก


1. ไม้ ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย การหดตัวน้อย 
ทนนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง















2. ค้อนไม้ 















3. สิ่ว 
























4.  มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อ



















5.  เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน












 






6.บุ้งหรือตะใบ ใช้ถูหรือใช้งานในขั้นตอนการแกะสลักแล้ว กระดาษทราย





















7.  กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือหรือตกแต่งภายหลัง



















8.  สว่าน


















9.  แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้






















10.เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบวัสดุตกแต่ง 

ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้






ความเป็นมาของบ้านถวาย


     บ้านถวายเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชาวบ้านประกอบอาชีพหลักทางด้านเกษตรกรรม แต่เมื่อประสบภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ชาวบ้านมีฐานะยากจน ดังนั้นหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะออกไปรับจ้างทำงานก่อสร้างทั่วไปในตัวเมือง และบางส่วนก็ออกไปค้าขายไม่ได้ประกอบอาชีพอยู่กับถิ่นฐานของตนเอง จนกระทั่งปี  .. 2500 - ..2505 ได้มีชาวบ้านจำนวน 3 คน  คือ 
พ่อใจมา   อิ่นแก้ว พ่อหนานแดง พันธุสา   พ่อเฮือน พันธุศาสตร์  ไปรับจ้างทำงานก่อสร้างในเมืองที่ร้านน้อมศิลป์ บ้านวัวลาย  ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายไม้แกะสลักที่โด่งดังในช่วงนั้น ทั้งสามคนเกิดความสนใจในการแกะสลัก  จึงได้เปลี่ยนอาชีพมารับจ้างแกะสลักไม้

           เมื่อเกิดความชำนาญ ทางร้านก็ให้นำงานกลับมาทำที่บ้าน และเป็นจุดเริ่มต้นการถ่ายทอดงานแกะสลักไม้ให้แก่ลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน โดยไม่หวงความรู้แม้แต่น้อย งานที่นำมาถ่ายทอดครั้งแรก คือ การแกะสลักไม้เป็นแผ่นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายรามเกียรติ์ ครุฑ สิงห์ ตุ๊กตาดนตรี ต่อมาก็ทำตัวพระ และรับซ่อมแซมตกแต่งของเก่าประเภท ไม้ และเริ่มลอกเลียนแบบของเก่าที่มีผู้นำมาซ่อมแซม พร้อมทั้งออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จากนั้นก็มีสตรีแม่บ้านของบ้านถวายออกไปรับจ้างทำแอนติค ทำสี ตกแต่งลวดลายเดินเส้น (ลายเส้นใช้วัสดุจากปูนขาว สีและชัน ผสมให้เข้ากันตามส่วน นำมาทำเป็นเส้น) เมื่อมีงานเพิ่มมากขึ้นทางร้านก็ให้นำกลับมาทำที่บ้านของตน  คิดค่าจ้างเป็นรายชิ้น  เมื่องานเสร็จก็นำไปส่งคืนให้กับทางร้าน  ซึ่งเป็นโอกาสได้พบปะกับลูกค้าของทางร้าน งเโดยลูกค้าได้ติดต่อขอที่อยู่ไว้และเข้ามาซื้อโดยตรง  ก่อให้เกิดธุรกิจในหมู่บ้านขึ้น   โดยแต่ละบ้านจะปรับบริเวณของตนใช้หน้าบ้านเป็นร้านค้า  และใช้พื้นที่ หลังบ้านทำงานหัตถกรรม  จนกลายเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมไม้ แกะสลักในครอบครัว  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา